บทความของ วสิษฐ เดชกุญชร

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2012 เวลา 00:00 น. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ประชาสัมพันธ์ - ประชาสัมพันธ์
พิมพ์

หนังสือควรอ่านและควรแจก โดย วสิษฐ เดชกุญชร

เมื่อต้นเดือนนี้เอง ผมโทรศัพท์ไปเยี่ยมน้องสาวผมซึ่งอยู่ที่เชียงราย ทราบว่าขณะนั้นเธอ กำลังทำบุญถวายผ้าป่าอยู่ที่วัด เธอบอกด้วยว่า พระภิกษุรูปหนึ่งที่รับผ้าป่านั้น คือท่านอาจารย์ พระมหา วุฒิชัย วชิรเมธี หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ .วชิรเมธี พอได้ยินดังนั้นผมก็รีบบอก น้องว่าขอทำบุญด้วย เพราะผมรู้จักรักและเคารพท่านอาจารย์อยู่แล้ว

หลังจากนั้น - วัน น้องเดินทางมาพบผมที่กรุงเทพ นำหนังสือมาด้วยเล่มหนึ่ง บอก ว่าท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัยฝากมาให้ผม ผมรับหนังสือมาดูเห็นว่าเป็นหนังสือชื่อ กิเลส MANAGEMENT” ปกแข็งสีแดงเล่มไม่บาง (นับดูภายหลังได้ประมาณ ๓๐๐ หน้า) หุ้มปกด้วย กระดาษมัน พิมพ์สีเป็นภาพเขียนรูปท่อนบนของเด็กหญิงในเครื่องแบบนักเรียน นั่งหลับตาอยู่ใต้ กระท่อมหรือกุฏิ มีกรงเล็บของสัตว์ชนิดไหนก็ไม่รู้กำลังเอื้อมเข้าหาเด็กหญิงผู้นั้น ฝีมือเขียนรูปดู ก็รู้ว่าเป็นของชั้นศิลปินชั้นครู อ่านจากปกจึงรู้ว่าผู้เขียนคือ .วชิรเมธีและผู้เขียนภาพคือ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป (จิตรกรรม)

พอเอากลับมาบ้านและพลิกดูก็แล้ววางไม่ลง เพราะนอกจากจะพิมพ์ด้วยกระดาษมันและ หนาอย่างดี (อย่างที่เคยเรียกว่ากระดาษอาร์ต) แล้ว ในเล่มยังมีภาพเขียนสีฝีมือ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ แทรกอยู่ตลอดทั้งเล่มนับได้ ๓๘ ภาพ ส่วนเนื้อเรื่องนั้น ท่านอาจารย์มหาวุฒิชัย แบ่งออกเป็น บท และ ภาค คือบทนำซึ่งอธิบายความหมายของคำว่า กิเลสและเหตุผลที่ ต้อง manage หรือบริหารมัน ภาค ว่าด้วยการจัดการความโลก ภาค ว่าด้วยการจัดการ ความโกรธ ภาค ว่าด้วยการจัดการตัณหา มานะ และทิฎฐิ ภาค ว่าด้วยริษยา : หนามตำใจ จบลงด้วยบทส่งท้ายว่าด้วยการจัดการกิเลสตามแบบแผน คืออริยมรรคมีองค์

ใครที่เคยอ่านข้อเขียนของท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัยหรือ .วชิรเมธี หรือเคยฟังท่านพูด หรือแสดงธรรมมาแล้ว ย่อมทราบดีด้วยกันทุกคนว่า จะเขียนหรือพูดก็ตาม ท่านอาจารย์พระมหา วุฒิชัยท่านเก่งตรงที่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย หรือถ้าจะพูดอย่างสมัยใหม่ก็ต้องว่า โดนใจผู้อ่านหรือผู้ ฟัง ในหนังสือ กิเลส MANAGEMENT” นี้ก็เช่นเดียวกัน ตั้งแต่บทต้นภาคต้นจนถึงภาคสุดท้าย บทสุดท้าย ท่านอาจารย์ผู้เขียนเขียนด้วยภาษาที่กระทัดรัดและอ่านเข้าใจง่ายเช่นเคย

เนื้อที่หน้ากระดาษนี้ไม่พอ จึงจะขอย่อยและยกเพียงบางตอนมาให้อ่านกัน

ในบทนำตอนที่ว่าทำไมต้องบริหารกิเลสนั้น ท่านอาจารย์ผู้เขียนอธิบายว่า สภาพจิตเดิม ของคนเรานั้นบริสุทธิ์ ผ่องใส แต่เศร้าหมองไปเพราะกิเลสที่จรมา (อาคันตุกะกิเลส) สถานภาพ ของกิเลสจึงเป็นเพียง แขกที่สัญจรมาชั่วครู่ชั่วคราว แต่ถ้าเรารู้ไม่เท่าทัน แขกแปลกหน้าที่เคย เป็นอาคันตุกะนี้อาจจะอยู่กับเราถาวรก็เป็นได้ ท่านบอกด้วยว่า กิเลสเหมือนไฟ ถ้ารู้จักใช้อย่าง มีปัญญา ก็เป็นประโยชน์ในการหุงหาอาหาร แต่ถ้าเราปล่อยปละละเลย ไฟที่เคยใช้หุงอาหารอันมี ประโยชน์นั่นแหละก็อาจลุกพรึบขึ้นไหม้บ้านไหม้เรือนได้

และแม้เราจะไม่สามารถจะตัดกิเลสได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้หมือนพระอริยบุคคล แต่เราก็ ไม่ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างคนที่ยอมตกเป็นทาสของกิเลสจนเต็มเวลา ในแต่ละวันของเรานั้น ควรจะมี บางช่วงบางเวลา บางชั่วโมง บางนาทีหรือบางขณะจิต ที่เราเป็นฝ่ายประกาศอิสรภาพ ลุกขึ้นมา ปราบดาภิเษกเป็นนายเหนือกิเลสบ้าง ไม่ใช่ปล่อยให้กิเลสครอบงำเราชั่วนาตาปี

ในภาคอื่น ที่ตามมานั้น ท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัยท่านแยกแยะ และจัดการบริหาร กิเลสเอาไว้เป็นส่วน ผู้อ่านสามารถที่จะค้นหรือหยิบขึ้นมาประยุกต์กับสถานการณ์จริง ได้โดยง่าย

บทที่ผมอยากจะให้อ่านกันเร็ว มาก และบ่อย โดยเฉพาะผู้รับผิดชอบในการบริหาร งานบ้านเมืองและนักธุรกิจอภิมหานายทุนนั้น คือภาค การจัดการความหลง โดยเฉพาะในหน้า ๑๕๕ ที่ว่าด้วยหลงเงินจนเงินกลายเป็นพระเจ้า และหน้า ๑๖๙ ที่ว่าด้วยหลงอำนาจจนต้องบูชา อำนาจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการหลงเงินนั้น ท่านอาจารย์ผู้เขียนได้ยกเอาชีวิตจริงของ บิล เกตส์ และ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มาเป็นอุทาหรณ์ให้เห็นความไม่หลงเงินของมหาเศรษฐีทั้งสองคน ที่แม้จะ รวยแล้วอย่างมหาศาลเป็นอันดับที่ และที่ ของโลก แต่ลงท้ายก็ใช้เงินจำนวนมหาศาลของตน ก่อตั้งโครงการเพื่อมนุษยธรรมขึ้นหลายโครงการ ทั้งยังเชิญชวนมหาเศรษฐีทั่วโลก ให้ร่วมเป็นหุ้น ส่วนของความดีอีกด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับการหลงอำนาจนั้น ท่านอาจารย์ผู้เขียนได้คัดเอาส่วนหนึ่ง ของบทความของพระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล มาให้อ่าน ซึ่งว่าด้วยการขึ้นสู่อำนาจ และในที่สุดก็ สูญเสียอำนาจของ วลาดิเมียร์ เลนิน และ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำคอมมิวนิสต์รัสเซีย ความหลง อำนาจของทั้งสองคนนั้นทำให้ชาวรัสเซียต้องตายไปกว่า ๒๐ ล้านคน และลงท้ายทั้งเลนินและ สตาลินก็จบชีวิตลงด้วยอาการอันน่าสมเพชและทนทรมาน

ตอนท้ายของภาค นั้น ท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัยแนะนำวิธีบริหารจัดการความหลง เอาไว้ วิธี คือ ) หมั่นศึกษาหาความรู้ทางโลกคู่ทางธรรมอยู่เสมอ ) รู้จักเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง อย่างมีปัญญา และ ) หมั่นเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ผมไม่ทราบว่านักเรียนชั้นประถมปีที่ และชั้นอื่น จะได้รับแจก แทเบล็ตฟรตามนโยบายของรัฐบาลไปแล้วหรือไม่เพียงใด แต่ผมขอเสนอแนะให้รัฐบาลของ ..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซื้อหนังสือ กิเลส MANAGEMENTของท่านอาจารย์พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี แจกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา คนละหนึ่งเล่ม หนังสือนี้ ราคาตามปกเล่มละ ๓๐๐ บาท ถูกกว่าแทเบล็ตหลายสิบเท่า แต่ผมเชื่อว่า ประโยชน์ที่จะได้จาก การอ่านหนังสือเล่มนี้จะมากมายมหาศาลหลายร้อยหลายพันเท่า ยิ่งกว่าที่นักเรียนชั้นประถมจะได้ จากการใช้แทเบล็ต

และถ้าแม้ว่ากิเลสของผู้ที่ได้รับแจกบางคนจะหนาเสียจนเหลือวิสัยที่จะบริหารได้ และผู้ที่ได้ รับแจกเอาหนังสือเล่มนี้ไปขว้างทิ้ง แต่ผู้อื่นที่เก็บได้ก็ยังอาจจะได้อ่าน และสามารถบริหารจัดการ กิเลสของตนได้ไม่มากก็น้อย ผู้แจกก็ยังจะได้บุญอยู่วันยังค่ำ.